ระบบหายใจ

 มนุษย์ทุกคนต้องหายใจเพื่อมีชีวิตอยู่ การหายใจเข้า อากาศผ่านไปตามอวัยวะของระบบหายใจตามลำดับ ดังนี้

                                                                                               c73

                                                             โครงสร้างของระบบหายใจ

                                         

    รูจมูก (Nostrils หรือ Nares)
เป็นรูเปิดด้านนอกของทางเดินอากาศเข้าสู่โพรงจมูก ในม้ารูจมูกสามารถปรับขนาดได้ ในขณะที่ในสุกรจะแข็งไม่สามารถปรับขนาดได้ การที่รูจมูกสามารถขยายได้ในม้าเป็นข้อดีเนื่องจากทำให้ได้รับอากาศมากในเวลาที่ต้องออกกำลัง รูจมูกม้าสามารถปรับขยายได้มาก

                                                                                  

                                                                                                                                      จมูก

พรงจมูก (Nasal cavities) 
รูจมูกนำอากาศเข้ามาสู่โพรงจมูกซึ่งแยกเป็น 2 ข้างด้วย nasal septum และแยกจากช่องปากโดย soft และ hard palate ในโพรงจมูกจะมี nasal conchae (turbinate bones) แบ่งโพรงจมูกเป็นช่องๆ mucosa ของ nasal conchae มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมากเพื่อคอยอุ่นอากาศและให้ความชื้นแก่อากาศที่หายใจเข้าก่อนผ่านไปสู่ทางเดินอากาศที่ลึกเข้าไปในร่างกาย ในขณะเดียวกันเลือดที่ผ่านเข้ามาอุ่นอากาศก็จะมีอุณหภูมิลดลงก่อนที่จะผ่านไปสู่สมอง ดังนั้นในทางกลับกันก็คืออากาศจะช่วยทำให้เลือดเย็นลง เลือดที่ไปเลี้ยงสมองจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิแกนกลางของร่างกายประมาณ 20- 30 oC ดังนั้นระบบการทำให้เลือดมีอุณหภูมิลดลงก่อนไปเลี้ยงสมองจะเป็นประโยชน์เพราะสมองเป็นอวัยวะที่ sensitive ต่อความร้อน นอกจากการอุ่นอากาศด้วยเส้นเลือดที่ผ่านมาเลี้ยง conchae แล้ว การหายใจด้วยปากก็เป็นกลไกตอบสนองอย่างหนึ่งที่ช่วยป้องกันในกรณีที่อากาศที่หายใจเข้าไปเย็นมาก โดยจะช่วยป้องกันไม่ให้เลือดที่ไปเลี้ยงสมองมีอุณหภูมิต่ำเกินไป โดยการลดปริมาณอากาศเย็นที่จะผ่านไปที่ conchae

หลอดคอ (Pharynx) 
อยู่ต่อจากส่วนท้ายของ nasal cavities เป็นทางรวมก่อนที่จะแยกเป็นทางเดินอาหาร และทางเดินหายใจ สิ่งที่เปิดเข้าสู่บริเวณ pharynx ได้แก่ posterior nares 1 คู่, eustachian tube 1 คู่, ช่องปาก, glottis และ esophagus ทางออกจากหลอดคอเข้าสู่ทางเดินหายใจ คือ glottis และมีส่วนต่อด้วย larynx เป็นอวัยวะที่สร้างเสียง เกิดจากการควบคุมทางเดินอากาศ ซึ่งอากาศที่ผ่านเข้าจะทำให้มีการสั่นของเส้นเสียงใน larynx สำหรับในนกจะมี syrinx เป็นอวัยวะสร้างเสียง โดย syrinx จะอยู่ในตำแหน่งที่ trachea แยกออกเป็น bronchi

 หลอดลม (trachea) 
หลอดลม (trachea) เป็นท่อทางเดินของอากาศจากจมูกเข้าสู่รูจมูก (nostril) แล้วผ่านไปยังช่องจมูก (nasal cavity) ผ่านไปที่คอหอย (pharynx) แล้วเข้าสู่หลอดลม จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้วปอด (bronchus) เข้าสู่ bronchiole เข้าสู่ alveolar duct เข้าสู่ air sac และเข้าสู่ถุงลม (alveolus) เป็นจุดสุดท้าย
หลอดลมในส่วนต้นจะเป็นส่วนของกล่องเสียง (larynx) กล่องเสียงนี้จะประกอบด้วยกระดูกที่เป็นกระดูกอ่อน 3 ชนิดคือ arytenoid cartilage, thyroid cartilage (ลูกกระเดือก), cricoid cartilage ภายในของกล่องเสียงมีแผ่นเยื่อ (vocal cord) 2 คู่ ขึงอยู่ แผ่นเยื่อ vocal cord จะยืดหยุ่นได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดเสียงได้ตามต้องการจะเปล่ง เสียง
หลอดลมจะมีกระดูกอ่อนบางๆ มาเป็นฝาปิดเพื่อป้องกันสิ่งอื่นๆ นอกเหนือจากอากาศลงไปเรียกว่า epiglottis
หลอดลมส่วนที่ถัดจากกล่องเสียงลงไปอีกจะเป็นหลอดยาวไปเชื่อมกับปอด หลอดลมจะถ่างเป็นช่องว่างอยู่ตลอดเวลานอกจาก นี้วงกระดูกอ่อนเป็นโครงอยู่ภายใน (tracheal ring) วงกระดูกด้านหลังของหลอดลมที่แนบอยู่กับหลอดอาหารจะขาดออกจากกันเป็นรูปวงกลม

ถุงลม (alveolus) 
                    ถุงลมปอด (Pulmonary alveoli)  เป็นตำแหน่งที่มีการแลกเปลี่ยน gas ระหว่างอากาศกับเลือด โดยมีเนื้อเยื่อ (alveolarcapillary membrane) ที่กั้นกลาง ประกอบด้วย alveolar epithelium และ capillary endothelium ที่ตำแหน่งนี้เลือดดำจาก pulmonary artery จะนำ COมาปล่อยเข้าถุงลม และรับ O2 จากถุงลมเข้ามา ก่อนที่จะถูกส่งกลับไปสู่หัวใจทาง pulmonary vein

                                           

    ถุงลมเป็นส่วนที่ต่อมาจาก alveolar duct ที่ต่อมาจาก bronchiole alveolar duct ส่วนปลายจะพองออกเป็นกระเปาะเล็กเรียกว่า air sac ซึ่ง air sac จะประกอบด้วยถุงเล็กๆ จำนวนมาก เรียกว่า ถุงลม (alveolus) จะเป็นถุงที่มีผนังบางๆ และมี endothelium ซึ่งมีลักษณะบางแต่เหนียวมากเป็นส่วนบุอยู่ด้านใน ส่วนทางด้านนอกของถุงลมจะมีเส้นเลือดฝอยหุ้มอยู่เป็นจำนวนมาก ถุงลมมีอยู่ประมาณ 700 ล้านถุง ซึ่งถ้านำมาแผ่ออกเป็นแผ่นอาจได้พื้นที่ถึง 90 ตารางเมตร

ปอด (Lung) 
เป็นโครงสร้างหลักของระบบหายใจ อยู่ในส่วนของช่องอก เมื่อช่องอกขยายปอดก็ขยายตาม เปิดโอกาสให้อากาศไหลเข้ามาสู่ปอด เมื่อช่องอกหดแฟบลงปอดก็ถูกบีบ ขับอากาศออกไปสู่ภายนอก ปอดสามารถเคลื่อนไหวได้โดยแทบจะไม่มีแรงเสียดทาน (friction-free movement) ภายในช่องอก ทั้งนี้เพราะมีเนื้อเยื่อหุ้มปอด (pleura) ซึ่งเป็น smooth serous membrane ที่ห่อหุ้มปอด แบ่งออกเป็นส่วนที่เชื่อมติดกับปอดเรียกว่า visceral pleura และส่วนที่เชื่อมติดกับผนังช่องอกเรียกว่า parietal pleura

                                                                                   

ระบบการหมุนเวียนเลือด

   เมื่ออาหารถูกย่อยจนเล็กที่สุด แพร่เข้าสู่ผนังลำไส้เล็กและแพร่ผ่านเข้าสู่เส้นเลือดแล้วจะเคลื่อนที่ไปสู่
ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายพร้อมกับเลือด
ระบบการหมุนเวียนเลือด มีอวัยวะสำคัญที่เกี่ยวข้องได้แก่ หัวใจ เส้นเลือด และเลือด

note

ระบบหมู่เลือด Rh

Rh +   คือ เลือดที่มีแอนติเจน Rh อยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงแต่ไม่มี Antibody (แอนติบอดี ) Rh
ในน้ำเลือด ซึ่งคนไทยประมาณร้อยละ 90 จะเป็น Rh +

Rh –   คือ เลือดที่ไม่มีแอนติเจน Rh อยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง และน้ำเลือดก็ไม่มีแอนติบอดี Rh แต่สามารถสร้างแอนติบอดี Rh ได้ เมื่อได้รับแอนติเจน Rh ( Rh + )

หลักในการให้เลือด

1.  ให้เลือดหมู่เดียวกันกับเลือดของผู้รับ

1. เลือดของผู้ให้ต้องไม่มีแอนติเจนที่ในผู้รับมีแอนติเจนบอดีสำหรับแอนติเจนนั้นอยู่ ( Antigen ของ
ผู้ให้ต้องไม่ตรงกับ  Antibody ของผู้รับ )

การให้เลือดกลุ่ม ABO

หมู่เลือด A มีแอนติเจน A และมีแอนติบอดี B ดังนั้นหมู่เลือด A ไม่สามารถให้แก่หมู่เลือด B เพราะหมู่เลือด B มีแอนติเจน B และ แอนติบอดี A (แอนติเจนตรงกับแอนติบอดีของผู้รับ ) เลือดจะตกตะกอน

หมู่เลือด O ไม่มีแอนติเจนใด ๆ เลย ดังนั้นจึงสามารถถ่ายเลือดให้ผู้รับได้ทุกหมู่ เรียก หมู่เลือด O ว่า ผู้ให้สากล ( Universal donor ) แต่จะรับเลือดจากหมู่เลือดอื่นไม่ได้เลย เพราะมีแอนติบอดีทั้ง A และ B
หมู่เลือด AB มีแอนติเจน A และ B ดังนั้นจึงไม่สามารถถ่ายเลือดให้หมู่เลือดอื่นได้เลย เป็นผู้รับอย่างเดียวเท่านั้น เรียกหมู่เลือด AB ว่าเป็นผู้รับสากล ( Universal recipient )

การให้เลือดและรับเลือดของคนที่มีหมู่เลือด Rh

1.      คนที่มีเลือด Rh + สามารถรับได้ทั้ง Rh + และ Rh – เพราะคนที่มีเลือด Rh + ไม่สามารถสร้างแอนติบอดีได้

2.      คนที่มีเลือด Rh – รับเลือด Rh + ครั้งแรกไม่เกิดอันตรายเพราะว่าแอนติบอดียังน้อย แต่จะเกิดอันตรายรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในครั้งต่อไป

3. ถ้าแม่มีเลือด Rh + รับเลือด Rh – เมื่อมีลูก ลูกจะปลอดภัยไม่ว่าลูกจะมีเลือดเป็น Rh + หรือ Rh –

4. ถ้าแม่มีเลือด Rh – พ่อ Rh + ถ้าลูกมีเลือด Rh – ลูกจะปลอดภัยแต่ถ้าลูกมีเลือด Rh + ลูกจะไม่ปลอดภัยโดยเฉพาะลูกคนต่อ ๆ ไป เพราะแอนติบอดี Rh ที่อยู่ในเลือดจากการตั้งครรภ์ครั้งแรกจะเข้าสู่เลือดของเด็กและเกิดปฏิกิริยาขึ้นได้

หัวใจ  เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในระบบไหลเวียนโลหิต ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกาย

หัวใจเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อทั้งหมด มีขนาดเท่ากับกำปั้นของเจ้าของ ตั้งอยู่ในทรวงอกระหว่างปอดทั้ง 2 ข้าง ส่วนของหัวใจจะอยู่ด้านซ้ายของร่างกาย รอบ ๆ หัวใจมีเยื่อบาง ๆ หุ้มอยู่ เรียกว่า เยื่อหุ้มหัวใจ ภายใน

หัวใจแบ่งออกเป็น 4 ห้อง ดังนี้
            1. หัวใจห้องบนขวา เป็นห้องที่รับเลือดเสีย หรือเลือดดำจากทุกส่วนของร่างกาย เพื่อส่งต่อให้หัวใจห้อง 
 ล่างขวา
2. หัวใจห้องล่างขวา จะรับเลือดจากห้องบนขวาแล้วส่งเลือดไปฟอกที่ปอด
3. หัวใจห้องบนซ้าย รับเลือดดีหรือเลือดแดงจากปอด เพื่อส่งต่อให้ล่างซ้าย
4. หัวใจห้องล่างซ้าย รับเลือดดีจากห้องบนซ้าย แล้วส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย

 ผนังของหัวใจประกอบด้วยเยื่อ 3 ชั้น คือ
• ชั้นนอก (epicardium)
• ชั้นกลาง (myocardium)
• ชั้นใน(endocardium)
หัวใจประกอบด้วย atrium 2 ห้อง และ ventricle 2 ห้อง ขวาและ ซ้ายventricleซ้ายมีขนาดใหญ่ และผนังหนาเพราะต้องสูบดันอย่างแรง เลือดจึงจะไปทั่วร่างกายได้ดี ส่วน ventricle ขวาเล็กและผนังบางกว่า เพราะเพียงส่งเลือดไปสู่ปอดเท่านั้นตามแนวขวางของหัวใจด้านนอก จะมีกระจุกไขมันเรียงกันเป็นแนว กระจุกไขมันนี้เองจะแสดงตำแหน่งที่กั้นห้อง (septum) 4 ห้อง ลิ้นของหัวใจและเส้นเลือด ลิ้น ( valve ) ของหัวใจและเส้นเลือด ประกอบขึ้นด้วย เยื่อเกี่ยวพันพวก ( fibrous tissue ) แล้วมีendolium ฉาบเอาไว้มีรูปร่างเป็นถุงคอยกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับทางเดิม ในขณะที่หัวใจหรือเส้นเลือดทำการบีบตัวหรือส่งเลือดออกไปมีอยู่ในหัวใจ เส้นเลือดแดงตอนใกล้ หัวใจและในเส้นเลือดดำทั่วร่างกาย นอกจากเส้นเลือดดำในสมอง ไขสันหลัง กระดูกและเส้นเลือดดำส่วนใหญ่ ที่เกี่ยวกับอวัยวะเครื่องใน

ลิ้นของหัวใจและเส้นเลือดมี 3 พวก คือ
 1. atrio-ventricular อยู่ระหว่าง atrium กับ ventricle ของหัวใจ หัวใจมีลิ้นชนิดนี้ 5 แผ่น คือ ซีกซ้าย 2 แผ่น เรียก bicuspid valve และซีกขวา 3 แผ่น เรียกว่า tricuspid valve
2. semilunar valve รูปร่างครึ่งทรงกลมเหมือนกระเป๋าติดอยู่ข้างเส้นเลือดเวลาเลือดไหลกระเป๋า จะแนบไปกับพื้นในของเส้นเลือด แต่ถ้าเลือดไหลกลับจะถ่างออกรับโดยมากมีอยู่ 2-3 กระเป๋าในระดับ เดียวกัน เวลาเลือดไหลกลับตรงนั้นจะตันพอดี มีอยู่ที่โคน pulmonary artery เรียก pulmonary artery valve และโคน aorta เรียก aortic semilunar valve เท่านั้น
 3. venous valve เป็นลิ้นที่มีอย่ในเส้นเลือดดำทั่วไปหลายแห่ง

น้ำเหลืองและหลอดน้ำเหลือง เป็นของเหลวที่ถูกรวบรวมจากเนื้อเยื่อต่าง ๆ เพื่อนำกลับเข้าสู่กระแสเลือดอีกครั้ง    โดยน้ำเหลืองจะไหลเวียนไปตามท่อน้ำเหลือง

เส้นเลือด เส้นเลือดในร่างกายแบ่งเป็น 2 ระบบใหญ่ๆ คือ ระบบหลอดเลือดแดง (arterilsystem) และระบบหลอดเลือดดำ (venous system)

ระบบหลอดเลือดแดง  ( Arterial System )

เป็นหลอดเลือดที่นำออกจากหัวใจ ไปยังอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นหลอดเลือดที่มีออกซิเจนสูง ยกเว้นหลอดเลือดพัลโมนารีอาเตอร์รี                 ( Pulmonary Artery ) ที่นำเลือดไปยังปอด

หลอดเลือดดำ( Venous system )

เป็นเส้นเลือดที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจ เลือภายในเส้นเลือดดำเป็นเลือดที่มีออกซิเจนน้อย เลือดมีสีแดงคล้ำ ยกเว้น เลือดที่ออกมาจากปอด

–          ซุพีเรียเวนาคาวา ( Superior vena cava ) เป็นเส้นเลือดที่เลือดจาก หัว อก แขน กลับเข้าสู่หัวใจ

– อินฟีเรีย เวนา คาวา ( Inferior vena cava ) เป็นส้นเลือดที่นำเลือดจากส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ใต้กระบังลมกลับเข้าสู่หัวใจ

–          – เส้นเลือด เวนูล ( Venule ) เป็นเส้นเลือดดำที่มีขนาดเล็กต่อกับเส้นเลือดฝอย

หลอดเลือดฝอย( Cappillary system )

มีทั้งหลอดเลือดแดงฝอย และหลอดเลือดดำฝอย    มีเนื้อเยื่อบางมาก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 ไมโครเมตร   ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียว   มีหน้าที่เป็นบริเวณสำหรับแลกเปลี่ยนก๊าซและสารต่าง ๆ ระหว่างเลือดกับเซลล์ของร่างกาย  เส้นเลือดฝอยในร่างกายมีจำนวนมาก เพระเป็นส่วนที่ต้องแยกไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

การทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต

 การทำงานของระบบไหลเวียนเลือด  
                1. หัวใจห้องบนซ้ายคลายตัว เพื่อรับเลือดแดงที่ส่งมาจากปอดจนเต็ม และจะบีบตัวเพื่อดันเลือดแดงผ่านล้นหัวใจสู่หัวใจห้องร่างซ้าย
2. หัวใจห้องร่างซ้าย จะบีบตัวอย่างแรง เพื่อฉีดเลือดแดงให้ไหลไปตามหลอดเลือดแดง ซึ่งจะแตกแขนงเป็นหลอดเลือดเล็ก ๆ ไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อนำก๊าซออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ขณะเดียวกันเลือดแดงก็รับเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ที่เป็นก๊าซเสียออกมาจากเซลล์ต่างๆ ของร่างกายเข้ามารวมกันในหลอดเลือดดำใหญ่ไหลเข้าสู่หัวใจห้องบนขวา
3. หัวใจห้องบนขวาจะคลายตัวรับเลือดดำจนเต็ม และบีบตัวเพื่อดันโลหิตำผ่านลิ้นหัวใจไปสู่ห้องล่าง
                    ขวา
4. หัวใจห้องล่างขวา จะบีบตัวอย่างแรง เพื่อส่งเลือดดำไปยังปอดโดยไหลไปตามเส้นเลือดดำ
5. เมือเลือดดำเข้าสู่ปอด แล้วจะไหลมาล้อมรอบปอดเกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซ โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์จะซึมเข้าถุงลมปอด และก๊าซออกซิเจนจากถุงลมปอดจะซึมเข้าเส้นเลือดดำ ทำให้เลือดดำเปลี่ยนเป็นเลือดแดง แล้วถูกสูบฉีดเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้ายอีก ซึ่งการทำงานจะหมุนเวียนเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ

ความดันโลหิต (blood pressure)

              ความดันโลหิตหรือความดันในเส้นเลือด หมายถึงแรงดันของเลือดที่ไปดันผนังเส้นเลือด ความดันโลหิตมีความสำคัญมากในการที่จะทำให้เซลล์ของร่างกายได้รับออกซิเจนจากเลือด มากหรือน้อย ความดันที่กล่าวถึงนั้นส่วนใหญ่จะเป็นความดันภายในเส้นเลือดแดงมีลักษณะเป็นคลื่นสูงตาม จังหวะการบีบตัวของหัวใจ ซึ่งความดันสูงสุดขณะหัวใจบีบตัวเรียกdiastolic pressure ในเส้นเลือดต่างๆจะมีความดันโลหิตแตกต่างกันไปซึ่งจะเห็นได้ว่าเลือดออกจากหัวใจยิ่งไกลออกไป ยิ่งมีความดันในเส้นเลือดลดลงไป

ระบบขับถ่าย

 ร่างกายมนุษย์มีกลไกต่าง ๆ คล้ายเครื่องยนต์  ร่างกายต้องใช้พลังงาน  การเผาผลาญพลังงานจะเกิด
ของเสีย  ของเสียที่ร่างกายต้องกำจัดออกไปมีอยู่ 2 ประเภท
1.  สารที่เป็นพิษต่อร่างกาย
2.  สารที่มีปริมาณมากเกินความต้องการ
ระบบการขับถ่าย เป็นระบบที่ร่างกายขับถ่ายของเสียออกไป  ของเสียในรูปแก๊สคือลมหายใจ  ของเหลวคือเหงื่อและปัสสาวะ  ของเสียในรูปของแข็งคืออุจจาระ

014

ระบบการขับถ่าย เป็นระบบที่ร่างกายขับถ่ายของเสียออกไป ของเสียในรูปแก๊สคือลมหายใจ ของเหลวคือเหงื่อและปัสสาวะ ของเสียในรูปของแข็งคืออุจจาระ

  • อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของแข็งคือ ลำไส้ใหญ่(ดูระบบย่อยอาหาร)
  • อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของแก๊สคือ ปอด(ดูระบบหายใจ)
  • อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของเหลวคือ ไต และผิวหนัง
  • อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปปัสสาวะ ได้แก่ ไต หลอดไต กระเพาะปัสสาวะ
  • อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปเหงื่อ คือผิวหนัง ซึ่งมีต่อมเหงื่ออยู่ในผิวหนังทำหน้าที่ขับเหงื่อ

การขับถ่ายของเสียทางลำไส้ใหญ่

การย่อยอาหารซึ่งจะสิ้นสุดลงบริเวณรอยต่อระหว่างลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ยาวประมาณ 5 ฟุต ภายในมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 นิ้ว เนื่องจากอาหารที่ลำไส้เล็กย่อยแล้วจะเป็นของเหลวหน้าที่ของลำไส้ใหญ่ครึ่งแรกคือดูดซึมของเหลว น้ำ เกลือแร่และน้ำตาลกลูโคสที่ยังเหลืออยู่ในกากอาหาร ส่วนลำไส้ใหญ่ครึ่งหลังจะเป็นที่พักกากอาหารซึ่งมีลักษณะกึ่งของแข็ง ลำไส้ใหญ่จะขับเมือกออกมาหลอลื่นเพื่อให้อุจจาระเคลื่อนไปตามลำไส้ใหญ่ได้ง่ายขึ้น ถ้าลำไส้ใหญ่ดูดน้ำมากเกินไป เนื่องจากกากอาหารตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่หลายวัน จะทำให้กากอาหารแข็ง เกิดความลำบากในการขับถ่าย ซึ่งเรียกว่า ท้องผูก

ภาพ:ลำไส้ใหญ่.JPG

สาเหตุของอาการท้องผูก

  1. กินอาหารที่มีกากอาหารน้อย
  2. กินอาหารรสจัด
  3. การถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลาหรือกลั้นอุจจาระติดต่อกันหลายวัน
  4. ดื่มน้ำชา กาแฟ มากเกินไป
  5. สูบบุหรี่จัดเกินไป
  6. เกิดความเครียด หรือความกังวลมาก

การขับถ่ายของเสียทางปอด

เราได้ทราบจากเรื่องระบบหายใจแล้วว่า ปอดคืออวัยวะที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ น้ำ และ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วจะออกจากเซลล์แพร่เข้าไปในเส้นเลือด แล้วลำเลียงไปยังปอดเกิดการแพร่ของน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ถุงลมปอดแล้วเคลื่อนผ่านหลอดลมออกจาก ร่างกายทางจมูก

การขับถ่ายของเสียทางไต

จากระบบการหมุนเวียนโลหิต เลือดทั้งหมดในร่างกายจะต้องหมุนเวียนผ่านไต โดยนำสารทั้งที่ยังมีประโยชน์และสารที่ไม่มีประโยชน์แล้วมาที่ไต ของเสียจะถูกไตกำจัดออกมาในรูปปัสสาวะ

 

ภาพ:ของเสียทางไต.JPG

ไต มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว มีอยู่ 2 ข้าง ติดอยู่กับด้านหลังของช่องท้องยาวประมาณ 11 เซนติเมตร กว้าง 6 เซนติเมตร และหนา 3 เซนติเมตร ตรงกลางเว้าเป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ ภายในไตมีหน่วยไตเล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก

กระบวนการขับถ่าย เริ่มจากหลอดเลือดที่นำเลือดมาจากหัวใจ เลือดและสารที่มากับเลือดจะถูกส่งเข้าหน่วยไต หน่วยไตจะกรองสารที่มีอยู่ในเลือด สารที่ยังมีประโยชน์จะถูกหน่วยไตดูดซึมกลับคืนมา ส่วนของเสีย อื่น ๆ จะถูกส่งไปตามหลอดไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะซึ่งมีความจุประมาณครึ่งลิตร

ในวันหนึ่ง ๆ คนเราจะขับถ่ายปัสสาวะออกมาประมาณ 1-1.5 ลิตร ปริมาณการขับถ่ายในแต่ละวันจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้

  • ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ
  • ชนิดของอาหารและเครื่องดื่ม เช่น แตงโม เหล้า ทำให้การขับถ่ายปัสสาวะมากขึ้น
  • การเสียน้ำของร่างกายทางอื่น

 

ระบบย่อยอาหาร

  ระบบย่อยอาหารประกอบด้วยอวัยวะหลาย ๆ อวัยวะ  ได้แก่  ปาก  หลอดอาหาร  กระเพาะอาหาร  ตับ
ตับอ่อน  ลำไส้เล็ก  ลำไส้ใหญ่  ซึ่งอวัยวะบางอวัยวะไม่มีการย่อยแต่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร
การย่อยอาหาร  เป็นกระบวนการที่ทำให้อาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ มีขนาดเล็กลงจนสามารถซึมเข้าสู่เซลล์ได้
การย่
อยมี  2  ลักษณะคือ
1. 
การย่อยเชิงกล (Mechanical digestion) คือ อาหารที่ถูกฟันบดเคี้ยวทำให้มีขนาดเล็กลงแต่ยังไม่สามารถแปรสภาพอาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ให้มีโมเลกุลเล็กลง
2. 
การย่อยทางเคมี (Chemical digestion) คือ อาหารเหล่านี้จะถูกย่อยให้เป็นโมเลกุลให้เล็กลงไปอีกโดยเอนไซมในน้ำลาย จะมีน้ำย่อยอยู่
การย่อยอาหารจะเริ่มตั้งแต่อาหารเข้าสู่ร่างกายโดยผ่าน ปาก  ลิ้น  ฟัน  ต่อจากนั้นอาหารจะถูกลืนผ่านลำคอไปตามอวัยวะต่าง ๆ

mouth

 

ปากเป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารที่สำคัญ เพราะเป็นส่วนแรกของอาหารที่จะทำการย่อยให้โมเลกุลเล็กลง ปากเป็นอวัยวะที่มีช่องเปิดเข้าสู่ภายใน ซึ่งประกอบด้วย น้ำลาย ฟัน ลิ้น แผ่นเพดานอ่อน และลิ้นไก่
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับปากมีดังนี้ คือ
1. ริมฝีปากแล้งแก้ม เป็นตวเคลื่อนที่ช่วยในการบดอาหาร
2. ช่องแก้ม อยู่ระหว่างฟันกับแก้ม และฟันกับริมฝีปาก บริเวณที่มีต่อมน้ำลายใต้หู ซึ่งต่อมนี้จะส่งน้ำลายออกมาที่ช่องแก้มบริเวณกราม ดังนั้นเวลาเคี้ยวของเปรี้ยว ๆ จะรู้สึกปวดเนื่องจากน้ำลายออกมา
3. ต่อมน้ำลายภายในปาก มีต่อมน้ำลายอยู่ 3 คู่ คือ
3.1 ต่อมใต้ขากรรไกร อยู่ที่มุมของขากรรไกรล่าง มีท่อน้ำลายเปิดที่ใต้ลิ้น
3.2 ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น เป็นต่อมน้ำลายที่อยู่ใต้ลิ้นระหว่างด้านในของก้านกระดูกขากรรไกรล่าง มีท่อมาเปิดใต้ลิ้นเช่นกัน
3.3 ต่อมน้ำลายใต้กกหู มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่บริเวณกกหู มาเปิดที่บริเวณกรามหลังซีกล่าง ถ้าต่อมนี้ติดเชื่อจะเกิดการอักเสบ เราเรียกว่า

โรคคางทูม

น้ำลาย
น้ำลายจะมีน้ำเป็นประกอบอยู่ 99% และยังมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน และไนโตรเจนละลายอยู่ และมีของเหลวบางชนิด เช่น ฟอสเฟต เป็นต้น นอกจากนี้ในน้ำลายยังมีน้ำเมือกและน้ำย่อยที่ใช้ย่อยแป้ง มีชื่อเรียกเฉพาะว่า ไทยาลีน ช่วยย่อยแป้งที่สุกแล้วให้เป็นน้ำตาล ดังนั้นเมื่อกินอาหารพวกแป้งเช่น ข้าว จะรู้สึกว่า มีรสหวาน เพราะในน้ำลายมีน้ำย่อยที่ใช้ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล น้ำลายของคนเราจะหลั่งวันละ 1-1.5 ลิตรขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การนึกถึงอาหาร
หน้าที่ของน้ำลาย คือ ช่วยในการย่อยอาหารจำพวกแป้งให้เป็นน้ำตาล ช่วยให้อาหารอ่อนตัวเพื่อความสะดวกและหล่อลื่นอาหารในขณะจะกลืน ทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายต่าง ๆ เพื่อการรับรู้รสช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปาก ควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายและช่วยให้ปากเปียกชื้นอยู่เสมอ

ฟัน
ในปากมีฟันสำหรับทำหน้าที่เคี้ยวอาหารเช่น กัด ฉีก แทะ หรือบดอาหาร ฟันจะเกิดก่อนกระดูกและไม่เกี่ยวข้องกับกระดูกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ฟันเป็นส่วนหนึ่งของทางเดินอาหาร
ฟันประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้คือ
1. ตัวฟัน เป็นที่โผล่พ้นเหงือก
2. รากฟัน เป็นส่วนที่ฝังอยู่ในตัวเหงือก
3. คอฟัน เป็นส่วนที่คอดอยู่ระหว่างตัวฟันและรากฟัน

ฟันคนเรามี 2 ชุด คือ
1. ฟันน้ำนม จะเริ่มขึ้นเมื่ออายุ 6-8 เดือน และครบเมื่ออายุ 2 ขวบ มีจำนวน 20 ซี่
2. ฟันแท้ เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 6 ขวบ และจะครบ 32 ซี่เมื่ออายุ 18 ปีหรือขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละคน
ชนิดของฟันแท้ครึ่งปากล่างประกอบด้วย
1. ฟันตัด 4 ซี่
2. ฟันเขี้ยว 2 ซี่
3. ฟันกราม 4 ซี่
4. ฟันกรามหลัง 6 ซี่

คอหอยและหลอดอาหาร
คอหอย เป็นท่อซึ่งอยู่หลังหลอดลมและปากเป็นบริเวณที่อาหารและลมมาพบกัน ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของลมหรืออากาศ จากจมูกไปยังกล่องเสียง และเป็นทางผ่านของอาหารจากปากไปยังหลอดอาหารรวมทั้งเป็นตัวช่วยทำให้เกิดเสียง
หลอดอาหาร เป็นหลอดต่อจากคอหอย อยู่หลังหลอดลมยาวประมาณ 9-10 นิ้ว ช่วงปลายของหลอดอาหารผ่านกระบังลมไปเปิดสู่กระเพาะอาหาร หลอดอาหารรับอาหารจากคอหอยไปสู่กระเพาะอาหารโดยการบีบรัดอาหารให้ไปทางเดียวโดยการบีดรัดตัวกล้ามเนื้อเรียบที่บีบตัวจะเป็นลูกคลื่นเพื่อไล่อาหารลงสู่กระเพาะอาหารต่อไป

กระเพาะอาหาร
กระเพาะอาหารเป็นทางเดินอาหารซึ่งมีลักษณะเป็นถุงใหญ่ ภายในไม่เรียบมีลักษณะคล้ายลูกคลื่น กระเพาะอาหารของคนเราแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
1. กระเพาะส่วนแรก อยู่ใกล้หัวใจ บริเวณส่วนต้นมีหูรูดอยู่ด้วย เอาไว้คอยกั้นอาหารในกระเพาะไม่ให้ไหลย้อนกลับเข้าสู่หลอดอาหาร
2. กระเพาะส่วนกลาง มีลักษณะเป็นกระพุ้งใหญ่
3. กระเพาะส่วนสุดท้าย ตรงปลายมีหูรูด คอยรูดก้นไม่ให้อาหารไปสู่สำไส้เล็กเร็วเกินไป รูปร่างของกระเพาะอาหารเมื่อมองด้านบนพบว่า มีการงอโค้งอยู่ด้านหนึ่ง เพราะความยาวของกระเพาะอาหารทั้งสองด้านไม่เท่ากัน เมื่องดอาหารไปนาน  ๆ ปริมาตรของกระเพาะอาหารจะลดลงเหลือเพียง  50 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่เมื่อมีอาหารเข้าไปแล้วกระเพาะอาหารจะมีขนาดใหญ่ขึ้นประมาณ 10-40 เท่า หรือประมาณ 500-2,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร

น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
ภายในกระเพาะอาหารมีต่อมสร้างน้ำย่อย เป็นต่อมสำหรับสร้างน้ำย่อย แล้วยังสามารถสร้างกรด น้ำเมือก รวมทั้งน้ำย่อยอีก 2 ชนิดทำหน้าที่ย่อยโปรตีนด้วย น้ำย่อย 2 ชนิดนี้เรียกกว่าเปปซิน และเรนนิน อาหารจะคลุกเคล้ากับน้ำย่อยในกระเพาะอาหารประมาณ 1-6 ชั่วโมง จึงถูกส่งผ่านเข้าลำไส้เล็กนักวิทยาศาสตร์พบว่า น้ำย่อยที่สร้างขึ้นจากต่อมในกระเพาะอาหารนี้ ครั้งแรกจะอยู่ในสภาพที่ยังไม่พร้อมที่จะทำงานได้ แต่เมื่อรวมกับกรดเกลือแล้ว น้ำย่อยจึงเปลี่ยนสภาพให้พร้อมที่จะย่อยอาหารได้

การย่อยในกระเพาะอาหาร
อาหารที่ถูกบดให้ละเอียดและอ่อนตัวลงแล้วก็จะเคลื่อนย้ายผ่านหลอดอาหารลงมาในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารจะทำหน้าที่ย่อยอาหารจำพวกโปรตีนเป็นส่วนใหญ่ เอนไซม์ ที่สำคัญในกระเพาะอาหารมีดังนี้ คือ
1. กรดเกลือ    ย่อยโปรตีนได้
2. เปปซิน      จะย่อยโปรตีนที่ได้จากพืชและสัตว์ให้มีโมเลกุลเล็กลง
3. ไลเปส       จะย่อยอาหารได้ดีเมื่ออยู่ในสภาพที่เป็นกรด
4. เรนนิน        จะช่วยทำให้โปรตีนที่อยู่ในนมเกิดการแข็งตัวตกตะกอนภายหลังที่รวมตัวกับแคลเซี่ยม การย่อยอาหารโปรตีนในกระเพาะอาหารนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและการบีบตัวของกระเพาะอาหารด้วย

 

ระบบกล้ามเนื้อ

ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System)จะทำงานร่วมกับระบบโครงกระดูกเพื่อให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นโครงร่างของร่างกายอีกด้วย ประกอบด้วย

1.กล้ามเนื้อลาย (Striated Muscle or Cross-Strjated Muscle)มีลายตามขวางตลอดความยาว เกาะติดกับโครงกระดูกหรือกระดูกช่วยทำให้เป็นรูปร่างของร่างกายและอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ กล้ามเนื้อลายนับว่าเป็นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวของร่างกายทั้งหมด เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อทรวงอก เป็นต้น และเป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรงที่สุด ลักษณะในการทำงานของกล้ามเนื้อลายคือดึงรั้งกระดูกให้มีการเคลื่อนไหวตามที่ใจต้องการUntitled3_4

2.กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่มีลักษณะเรียบ ไม่มีลาย และไม่อยู่ในอำนาจจิตใจเป็นส่วนประกอบของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อที่หลอดลมปอด กล้ามเนื้อในกระเพาะอาหาร ลำไส้ และมดลูก เป็นต้น

untitled2

3.กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle)กล้าม เนื้อหัวใจจะพบที่บริเวณหัวใจและผนังเส้นเลือดเข้าสู่หัวใจเท่านั้น เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจมีลักษณะคล้ายกับกล้ามเนื้อลายคือ มีการเรียงตัวให้เป็นลายเมื่อส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ กล้ามเนื้อหัวใจมีลักษณะแตกกิ่งก้านและสานกัน มีรอยต่อและช่อง ระหว่างเซลล์ซึ่งบริเวณที่มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ สามารถส่งกระแสไฟฟ้าผ่านจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งได้untitled3_1

                                                                                                                 ความสำคัญของระบบกล้ามเนื้อ

1.ช่วยให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้จากการทำงาน ซึ่งในการเคลื่อนไหวของร่างกายนี้ ต้องอาศัยการทำงานของระบบโครงกระดูกและข้อต่อต่างๆด้วย โดยอาศัยการยึดและหดตัวของกล้ามเนื้อ

2.ช่วยให้อวัยวะภายในต่างๆเช่นหัวใจ ปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ หลอดเลือด ทำงานได้ตามปกติและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการบีบตัวของกล้ามเนื้ออวัยวะดังกล่าว

3.ผลิตความร้อนให้ความอบอุ่นร่างกาย ซึ่งความร้อนนี้เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อแล้วเกิดปฏิกิริยาทางเคมี

4.ช่วยป้องกันอวัยวะภายในไม่ให้ได่รับความกระทบกระเทือน

5.เป็นที่เกิดพลังงานของร่างกาย

ระบบโครงกระดูก

ระบบโครงกระดูกมีหน้าที่ค้ำจุนร่างกายให้อยู่คงรูปร่างอยู่ได้  กระดูกของมนุษย์ทั้งร่างกายมีอยู่ทั้งสิ้น 206 ชิ้น

แบ่งเป็น 2  ประเภทคือ

1.กระดูกแกน (Axial Skeleton) เป็นกระดูกที่เป็นแกนกลางของร่างกาย ทำหน้าที่ค้ำจุนและป้องกันอันตรายให้แก่อวัยวะสำคัญภายในร่างกาย มีจำนวนทั้งสิ้น 80 ชิ้น ประกอบด้วย

1.กะโหลกศรีษะ (Skull) มีจำนวน 29 ชิ้น

2.กระดูกสันหลัง (Vertebrae) มีจำนวน 26 ชิ้น

3.กระดูกซี่โครง (Ribs) มีจำนวนทั้งหมด 24 ชิ้น

4.กระดูกอก (Sternum) มีจำนวนทั้งหมด 1 ชิ้น

2.กระดูกรยางค์ (Appendicular Skeleton) เป็นกระดูกที่เชื่อมต่อกับกระดูกแกน ทำหน้าที่ค้ำจุนและเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย มีจำนวนทั้งสิ้น 126 ชิ้น ประกอบด้วย

1.กระดูกแขน มีจำนวน 64 ชิ้น (ข้างละ 32 ชิ้น)

2.กระดูกขา มีจำนวน 62 ชิ้น (ข้างละ 31 ชิ้น)

270px-Human_skeleton_front_en.svg

 

 

ระบบผิวหนัง

      ระบบผิวหนัง

ระบบผิวหนังเป็นระบบที่ห่อหุ้มร่างกาย  เซลล์ชั้นบนมีการเปลี่ยนแปลงมี่สำคัญ คือ มีเคอราทิน(keratin) ใสและหนา มีความสำคัญคือ ป้องกันน้ำเข้าสู่ร่างกาย การเปลี่ยนที่ทำให้เกิด เคอราทิน เรียกว่า เคอราทีทีไนเซซัน (keratinization)

ชั้นผิวหนัง

 

 

 

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่บล็อกส่วนตัว ตันติกร ภักดีอำนาจ

แบบเสนอโคงร่างโคงงานคอมพิวเตอร์

รายวิชา การสร้างและออกแบบเว็บไซรต์(ง30242)

กลุ่มสาระการเรียนรู้ กานงานอาาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์)

ปีการศึกษา2554

เสนอ

อาจารย์ อภิญญา คำเหลือ